www.graphicproduce.com
  เพิ่มเพื่อน แผนที่กราฟฟิกโปรดิวซ์ รับทำป้ายโฆษณา

หลัการออกแบบบรรจุภัณฑ์

เทคนิคการออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging)

 

การออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging)
        คือ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ และการผลิตสิ่งบรรจุหรือห่อหุ้มผลิตภัณฑ์ เพื่อ
    ความปลอดภัยและประโยชน์ใช้สอย
    เป็นเครื่องมือในการกำหนดโปรแกรมการตลาด
    เพิ่มโอกาสในการสร้างกำไร
ลักษณะของการบรรจุภัณฑ์
  1. บรรจุภัณฑ์ขั้นที่หนึ่ง (Primary packaging)
        หมายถึง บรรจุภัณฑ์ที่มาห่อหุ้มตัวสินค้า เพื่อป้องกันรักษาไม่ให้ตัวสินค้าได้รับความเสียหาย หรือเพื่อความสะดวกในการนำไปใช้งาน ตัวอย่างเช่น หลอดยาสีฟัน
  2. บรรจุภัณฑ์ขั้นที่สอง (Secondary packaging)
        หมายถึง บรรจุภัณฑ์ที่มาห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ขั้นที่หนึ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวสินค้าได้รับความเสียหาย อีกทั้งยังช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวสินค้า ช่วยในการขายสินค้าโดยการดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น กล่องยาสีฟัน
  3. บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง (Shipping packaging)
        หมายถึง บรรจุภัณฑ์ที่ทำหน้าที่ในการเก็บรักษาและขนส่งสินค้า ตัวอย่างเช่น ลัง ตู้คอนเทนเนอร์ เป็นต้น
หลักการออกแบบบรรจุภัณฑ์
    สะดวกในการนำไปใช้ และเก็บรักษา
    ช่วยรักษาคุณภาพของสินค้า
    มีความสวยงาม โดดเด่น
    สอดคล้องกับตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ (Product Positioning)
    ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
  ป้ายฉลาก (Label)
        ป้ายฉลากเป็นส่วนหนึ่งที่มาควบคู่กับบรรจุภัณฑ์ โดยเป็นส่วนที่ให้ข้อมูล รายละเอียดต่างๆเกี่ยว
กับสินค้า แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
      1. ป้ายฉลากแสดงตราสินค้า (Brand label) ตัวอย่างเช่น น้ำมันพืชตราองุ่น
2. ป้ายฉลากแสดงคุณภาพของสินค้า (Grade label) ตัวอย่างเช่น น้ำมันพืชตราองุ่น ไม่เป็นไข น้ำปลาแท้ตราปลาหมึก เป็นต้น
3. ป้ายฉลากแสดงรายละเอียดของสินค้า (Descriptive label) ตัวอย่างเช่น วิธีการใช้ ส่วนประกอบ สถานที่ผลิต วันเดือนปีที่ผลิต/หมดอายุ เป็นต้น
  กลยุทธ์ป้ายฉลาก (Label strategy)
    ข้อความเด่นชัด กะทัดรัด เข้าใจง่าย
    ให้รายละเอียดที่สำคัญแก่ลูกค้าครบถ้วน
    ข้อมูลที่ปรากฏเป็นข้อเท็จจริง สามารถพิสูจน์ได้
วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product life cycle : PLC)

        แสดงถึงการเจริญเติบโตของยอดขายและกำไรในผลิตภัณฑ์ของบริษัท โดย PLC จะเป็นตัวที่ช่วย
ในการวางแผนการลงทุนทางการตลาด และกำหนดผลกำไรที่คาดหวัง แบ่งออกเป็น 4 ขั้นด้วยกัน ดังแสดงในรูปที่ 6-1

รูปที่ 6-1 แสดงวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์

  1. ขั้นแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ (Introduction Stage)
     มีลักษณะสำคัญดังนี้
    ต้นทุนสูง
    ยอดขายและกำไรต่ำ
    การจัดจำหน่ายมีขอบเขตจำกัด
    เน้นการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้า และกระตุ้นให้เกิดการทดลองใช้
  2. ขั้นเจริญเติบโต (Growth Stage)
     มีลักษณะสำคัญดังนี้
   
ยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
    กำไรสูงขึ้น
    เริ่มมีคู่แข่งเข้าสู่ตลาดมากขึ้น
    มีผลิตภัณฑ์ให้เลือกมากขึ้น
    ราคาเริ่มลดลงหรือคงที่
    มีคนกลางที่รับสินค้าไปจำหน่ายมากขึ้น
    มุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมตราสินค้าของบริษัท
  3. ขั้นเจริญเติบโตเต็มที่ (Maturity Stage)
     มีลักษณะสำคัญดังนี้
    ยอดขายเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง
    กำไรเริ่มลดลง
    การแข่งขันรุนแรงมากขึ้น
    ต้องเริ่มมีการปรับปรุงหรือออกผลิตภัณฑ์ใหม่
    เน้นการตั้งราคาให้แตกต่างจากคู่แข่งขัน
    มีคนกลางมากขึ้น
    เน้นการส่งเสริมการตลาดเพื่อต่อสู้กับคู่แข่ง
  4. ขั้นตกต่ำ (Decline Stage)
     มีลักษณะสำคัญดังนี้
    ยอดขายและกำไรลดลง
    คู่แข่งขันมีจำนวนลดลง
    รูปแบบผลิตภัณฑ์ลดลง
    ช่องทางการจำหน่ายลดน้อยลง
    ใช้การส่งเสริมการตลาดน้อยลง
    ต้องมีการนำผลิตภัณฑ์ออกจากตลาด และมองหาตลาดใหม่

ที่มา http://classroom.hu.ac.th/courseware/Marketing/index25.html



| ป้ายตัวอักษรสแตนเลส | ป้ายตัวอักษรสังกะสี | ป้ายตัวอักษรทองเหลือง | ป้ายตัวอักษรทองแดง | อักษรโลหะ | ป้ายกล่องไฟ | สมัครงาน
 
Graphicproduce Co.,Ltd.
Tel/FAX:02-538-6823 Mobile:081-866-8060 E-mail: [email protected]
ที่อยู่: 5/4 หมู่บ้านกู๊ดวิลล์ ซอยนาคนิวาส 30 ถนนนาคนิวาส แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230