www.graphicproduce.com
  เพิ่มเพื่อน แผนที่กราฟฟิกโปรดิวซ์ รับทำป้ายโฆษณา

วิธีการทำน้ำผักเพื่อสุขภาพ

ผู้ดำเนินรายการ  นายพิชัย  สมบูรณ์วงศ์ และนางจิรนันท์  เสนานาญ

วิทยากร   อาจารย์ปรีชา รัตนัง  สาขาพืชผัก  ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 

 

การทำน้ำผักเพื่อสุขภาพ
                ผักคะน้าสามารถนำมาเป็นน้ำผักดื่มได้อร่อยชื่นใจไม่แพ้ผลไม้ และผักคะน้า เป็นผักที่หาซื้อได้ตลอดปี และเป็นผักที่คุ้นเคย มักมีติดตู้เย็นอยู่เสมอ ลองมานำเป็นน้ำดื่มกันดู

ส่วนผสม
                •ใบคะน้า40 กรัม (2 ใบขนาดกลาง)
                •น้ำเชื่อม 30 กรัม (2 ช้อนคาว ประมาณ 30 ซีซี)
                (ใช้สารให้ความหวาน หรือน้ำตาลเทียมแทนได้)
                • น้ำมะนาว 10 กรัม (2 ช้อนชา ประมาณ 10 ซีซี)
                • น้ำเปล่าสะอาด 200 กรัม (14 ช้อนคาว หรือประมาณ 1 แก้ว)
                • เกลือเสริมไอโอดีน 1 กรัม (1/5 ช้อนชา)
วิธีทำ
                นำใบคะน้าล้างให้สะอาด จากนั้นหั่นใส่เครื่องปั่นเติมน้ำสุกครึ่งแก้ว (100 ซีซี) ปั่นจนลดเอียด กรองเอาแต่น้ำ แล้วเติมน้ำที่เหลือ น้ำมะนาว น้ำเชื่อม และเกลือ ชิมรสตามชอบ เสริฟเย็นๆ ด้วยการเติมน้ำแข็งทุบ หรือใช้น้ำเย็นจัดในการทำน้ำคะน้า
เรื่องน่ารู้
                ธรรมชาติใบของคะน้าจะมีนวน คือเป็นลักษณะคล้ายแป้ง เคลือบอยู่ที่ใบ เกษตรกรจะใช้สารลดแรงตึงผิว เพื่อทำให้ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยทางใบ หรือฮอร์โมนเร่งการเติบโต สามารถติดกับใบได้ เพื่อผลในการป้องกันแมลง และทำให้เติบโตดี ดังนั้น คะน้ามักขม หรือเหม็นจากสารเคมีเหล่านี้ ติดอยู่ ล้างออกยาก ควรใช้ถ้ามีน้ำยาลำหรับล้างผักแบบที่สกัดจากธรรมชาติ (ไม่มีประจุจากสารเคมี) จะดีมาก จะลดความขมหรือเหม็นจากสารเคมีได้ดี คะน้าที่ไม่มีสารเคมีติดจะไม่มีรสขม และไม่มีกลิ่นเหม็นของสารเคมี จะทำน้ำคะน้าได้อร่อย เพราะเราใช้คะน้าสดทำน้ำคะน้า
ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ
                คุณค่าทางอาหาร ให้วิตามินเอสูงมาก ช่วยบำรุงสายตา คะน้าเป็นแหล่งเบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นสารช่วยยับยั้งมะเร็ง และยังมีแคลเซี่ยม ฟอสฟรัส ช่วยบำรุงกระดูก และยังมีวิตามินซี ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ชลอความแก่ ป้องกันมะเร็ง และทำให้เนื้อเยื่อของร่างกายทำงาน คุณค่าทางยา  ป้องกันโรคโลหิตจาง ลดระดับอุณหภูมิในร่างกาย และแก้การกระหายน้ำ

 

งานวิจัยเรื่อง  การให้น้ำชลประทานระบบสปริงเกลอร์สำหรับสวนลำไยที่ดอน 

โดย          รองศาสตราจารย์สมชาย  องค์ประเสริฐ  นายวินัย วิริยะอลงกรณ์  ดร. เสกสันต์  อุสสหตานนท์และ ผศ. สุพจน์  เอี้ยงกุญชร

ผลการศึกษา

ปัจจุบันเกษตรกรได้ขยายพื้นที่ปลูกไม้ผลสู่ที่ดอนและพื้นที่ไหล่เขาหรือเนินเขามากขึ้น  ในพื้นที่แบบนี้หาน้ำได้ยากกว่าในที่ลุ่ม  นอกจากนี้แรงงานยังขาดแคลนแรงงานและค่าแรงแพงขึ้น  เกษตรกรผู้ปลูกไม้ผลจำนวนมากจึงนิยมวิธีการให้น้ำชลประทานทางท่อโดยระบบสปริงเกลอร์หรือระบบน้ำหยด  นอกจากประหยัดทั้งน้ำและแรงงานแล้ว  การให้น้ำชลประทานทางท่อทำให้สามารถให้ปุ๋ยเคมีไปพร้อมกับการให้น้ำ

ปัจจุบันมีสวนองุ่นในออสเตรเลียและอเมริกาใช้เทคนิค  “การให้น้ำแบบสลับข้างทีละครึ่งต้น”  การให้น้ำโดยเทคนิคนี้ใช้น้ำเพียงประมาณครึ่งหนึ่งของการให้น้ำเต็มพื้นที่ทรงพุ่มโดยไม่มีผลต่อปริมาณผลผลิต  และยังทำให้คุณภาพผลผลิตองุ่นดีขึ้นด้วย  มีรายงานผลจากการทดลองในออสเตรเลียว่า  เมื่อเปลี่ยนวิธีให้น้ำจากการปล่อยน้ำไปตามร่องระหว่างแถวของต้นองุ่นเป็นวิธีให้น้ำด้วยระบบน้ำหยด  ทำให้ประหยัดน้ำได้ถึงครึ่งหนึ่ง  และเมื่อใช้เทคนิค  “การให้น้ำแบบสลับข้างทีละครึ่งต้น”  ในระบบน้ำหยด  ก็สามารถประหยัดได้อีกครึ่งหนึ่ง  คือใช้น้ำเพียง 1 ใน 4 ของการให้น้ำแบบดั้งเดิม  โดยทำให้ผลผลิตลดลงไม่เกิน 5 % แต่ผลผลิตมีคุณภาพดีขึ้น 

หลักการของเทคนิค  “การให้น้ำแบบสลับข้างทีละครึ่งต้น”  คือการให้น้ำทีละครึ่งหนึ่งของพื้นที่ใต้ทรงพุ่ม  ด้วยความถี่ของการให้น้ำตามปรกติ  เช่น  3-5  วัน/ครั้ง  และปล่อยให้อีกครึ่งของพื้นที่แห้ง   เมื่อดินในครึ่งที่แห้งใกล้แห้งสนิท ก็สลับข้างให้น้ำ  ซึ่งโดยปรกติสลับข้างให้น้ำเช่นนี้ทุกระยะ 12-15 วัน  เมื่อมีรากส่วนหนึ่งอยู่ในดินแห้งพืชจึงเหมือนถูกหลอกว่ากำลังอยู่ในภาวะแห้งแล้ง  พืชจึงต้องลดการคายน้ำ  ทำให้น้ำที่พืชได้รับเพียงประมาณครึ่งหนึ่งจากพื้นที่ด้านเปียกเพียงพอให้พืชเติบโตและให้ผลผลิตใกล้เคียงกับที่ได้รับน้ำตามความต้องการปรกติ  จุดอ่อนของเทคนิค  “การให้น้ำแบบสลับข้างทีละครึ่งต้น  คือในระยะที่ครึ่งหนึ่งของระบบรากอยู่ในดินแห้ง  รากจะดูดกินปุ๋ยได้ยาก  เพื่อแก้จุดอ่อนนี้จึงต้องให้ปุ๋ยผ่านระบบสปริงเกลอร์หรือระบบน้ำหยด  ที่เป็นวิธีให้ปุ๋ยทีละน้อยแต่ให้บ่อยและกระจายอย่างสม่ำเสมอทั่วบริเวณที่ได้รับน้ำ  การให้ปุ๋ยแบบนี้ทำให้ปุ๋ยแพร่กระจายสัมผัสระบบรากมากที่สุด  ปุ๋ยเคมีมาตรฐานสำหรับการให้ผ่านระบบให้น้ำมีราคาแพงกว่าปุ๋ยทางดินทั่วไป  2-3  เท่า  

  นอกจากนี้ยังมีการศึกษาการแพร่กระจายของราก  การหมุนเวียนใช้ใบจากการตัดแต่งกิ่งเป็นปุ๋ย  และผลตอบแทนในเรื่องการประหยัดต้นทุนจากการประหยัดน้ำโดยเทคนิค  “การให้น้ำแบบสลับข้างทีละครึ่งต้น”

ผลการวิจัยทั้งหมดสรุปได้ดังต่อไปนี้

จากการทดลองในสวนเกษตรกร 2 สวน  ที่เป็นดินร่วนและดินทรายที่จังหวัดลำพูนเป็นเวลา 3 ปี  พบว่าต้นลำไยที่ได้รับน้ำตามเทคนิค  “การให้น้ำแบบสลับข้างทีละครึ่งต้น”  ซึ่งใช้น้ำเพียง  67 %  มีปริมาณผลผลิตของใกล้เคียงกับต้นลำไยที่ได้รับน้ำ 100 % ของการให้น้ำตามวิธีมาตรฐาน  โดยที่คุณภาพผลผลิต  ได้แก่  ขนาดผล  ความหนาเนื้อ  ความหนาเปลือก  และความหวาน  ไม่แตกต่างกัน.  วิธีการให้น้ำโดยเทคนิค  “การให้น้ำแบบสลับข้างทีละครึ่งต้น”  นี้  นอกจากทดลองได้ผลดีกับลำไยแล้ว  นักวิจัยของเยอรมันยังได้ทดลองที่เชียงใหม่  พบว่าใช้ได้ผลดีกับมะม่วงด้วย 

 รายการวิทยุมก.พบประชาชน - เดือนมีนาคม 2553



| ป้ายตัวอักษรสแตนเลส | ป้ายตัวอักษรสังกะสี | ป้ายตัวอักษรทองเหลือง | ป้ายตัวอักษรทองแดง | อักษรโลหะ | ป้ายกล่องไฟ | สมัครงาน
 
Graphicproduce Co.,Ltd.
Tel/FAX:02-538-6823 Mobile:081-866-8060 E-mail: [email protected]
ที่อยู่: 5/4 หมู่บ้านกู๊ดวิลล์ ซอยนาคนิวาส 30 ถนนนาคนิวาส แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230